วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

10 อันดับสัตว์เลี้ยงที่นิยมเลี้ยงกันคร้า ^^

อันดับที่ 10 ''ชินลาล่า'' [Chinchilla]

อันดับที่ 9 "ชูการ์ไกร์เดอร์"

อันดับที่ 8 "กระรอก" [Squirrel]

อันดับที่ 7 "นก" [Bird]

อันดับที่ 6 "กระต่าย" [Rabbit]

อันดับที่ 5 "แฮมเตอร์" [Hamster]

อันดับที่ 4 "แกสบี้" [guinea pig]

อันดับที่ 3 "ปลา" [fish]

อันดับที่ 2 "แมว" [Cat]

ว้าววว ว ๆ    ๆ ในที่สุดก็เดินทางมาถึงอันดับ 1 แล้วก็คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้ ซึ่งอันดับหนึ่งของเรา ก็คือ น้องโอ่ง งงๆ  หรือน้องสุนัขนั่นเองจ้า ^^


วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

5 เพลงติดอันดับในเดือนกันยายน 2555

1.เพลงวินาทีเดียวเท่านั้น (เก้า จิรายุ)
2.เพลงรักเธอ 24 ชั่วโมง (แกงส้ม The star)
3.เพลงแสงสุดท้าย (Bodyslam)
4.เพลงมองได้แต่อย่าชอบ (เพลงประกอบภาพยนตร์ ATM เออรัก...เออเร่อ)
5.เพลงลูกอม (วัชราวลี)

ตัวอักษรคะตะคะนะของภาษาญี่ปุ่น

チ イ ウ エ オ
カ キ ク ケ コ
サ シ ス セ ソ
タ チ ツ テ ト
ナ ニ ヌ ネ ノ
ハ ヒ フ ヘ ホ
マ ミ ム メ モ
ヤ   ユ   ヨ
ラ リ ル レ ロ
ワ       ン

ตัวอักษรฮิระงะนะของภาษาญี่ปุ่น

あ い う え お
か き く け こ
さ し す せ そ
た ち つ て と
な に ぬ ね の
は ひ ふ へ ほ
ま み む め も
や   ゆ   よ
ら り る れ ろ
わ       ん



วิธีการรักษาโรคคางทูม


การรักษาโรคคางทูมไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแต่ให้นอนพักผ่อน อย่าให้กระโดดโลดเต้นที่อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนง่ายขึ้น ให้ยาลดไข้แก้ปวด รักษาสุขภาพในช่องปาก โดยใช้น้ำยาบ้วนปาก ทำความสะอาดช่องปากหลังอาหาร โรคคางทูมจะมีปัญหายุ่งยากเมื่อมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงเท่านั้น ปัจจุบันนี้มีวัคซีนป้องกันโรคคางทูมซึ่งมีความปลอดภัยในการใช้ โรคคางทูมจึงไม่เป็นปัญหายุ่งยากอีกต่อไป 

สมัยผมยังเด็กวัคซีนป้องกันโรคคางทูมยังไม่มี เด็กซึ่งเป็นคางทูม จึงพบเห็นกันเป็นเรื่องประจำวัน ตอนผมอยู่ชั้นประถม เพื่อนที่เป็นคางทูมหลายคนยังคงมาโรงเรียนเพราะไม่ได้มีอาการอะไรมาก นอกจากแก้มโย้ ครูเห็นเข้าก็ต้องเรียกผู้ปกครองมารับกลับ ขืนปล่อยไว้อาจติดคางทูมกันทั้งชั้นเรียน 

การรักษาโรคคางทูมสมัยผมยังเด็กก็แสนง่าย เมื่อผมติดคางทูมมาผู้ใหญ่ก็ให้นอน ห้ามไปวิ่งเล่น แล้วหายาพื้นบ้านประเภทยาเขียว ยาจันทร์ มาละลายน้ำให้กิน เพื่อขับพิษลดไข้ ตกบ่ายค่ำไข้ขึ้นรุมๆ แม่ก็เอายาลดไข้ น้ำสีแดงมาให้กิน ยาน้ำเชื่อมลดไข้นี้นิยมกันมากในสมัยนั้น เรียกว่า ยาแก้ซางตัวร้อน เด็กชอบกินเพราะรสหวานกลิ่นหอมน้ำกุหลาบ มาทราบเมื่อเข้าเรียนแพทย์ว่ายานี้ที่แท้ก็คือ โซเดียมซาลิซิเลท ยาแก้ไข้แก้ปวดตระกูลเดียวกับแอสไพรินนั่นเอง 

ส่วนบริเวณหน้าหูที่บวมเจ็บ แม่หายาเย็น ๆ มาทาให้ เชื่อว่าแก้บวมแก้ปวดได้ เด็กบางคนพ่อแม่พาไปหาซินแสยาจีน ได้ยาสมุนไพรผสมเหล้าที่เรียกว่า ยาแชเฉ้ามาทาเขียวเปรอะไปหมด แต่เด็กสบายหายเจ็บดี 

เด็กบางคนที่เป็นคางทูมพ่อแม่พาไปเขียนคำว่า "โฮ้ว" ในภาษจีนตรงแก้มที่บวม เรื่องนี้เนื่องมาจากความเชื่อของคนจีนว่า โรคคางทูมเกิดจากปีศาจหมู ทำให้แก้มบวมคล้ายหมู คนจีนเรียกโรคนี้ว่า ตือเถ้าปุ๊ย (แปลว่าบวมเป็นหัวหมู) จึงแก้โดยใช้เสือปราบ วิธีการก็ง่าย ให้เสาะหาคนปีขาลมาเขียนคำว่า "โฮ้ว" ด้วยหมึกจีน ลงบนแก้มที่บวมนั้น เสือจะไปไล่ปีศาจหมูให้หนีไป แก้มที่บวมโย้ ก็จะยุบลงเป็นปกติ 

ครูแพทย์ท่านหนึ่งบอกว่าการใช้หมึกจีนเขียนลงไปบนแก้มที่บวม ไม่มีอะไรเสียมีแต่ผลดี เพราะหมึกจีนช่วยให้เย็นสบายผลพลอยได้ คือช่วยด้านกำลังใจแก่ทั้งเด็กที่ป่วยและผู้ปกครองอีกส่วนหนึ่ง 

เดี๋ยวนี้หาคนที่เป็นคางทูมแล้วไปหาคนปีขาลช่วยเขียน "โฮ้ว" ได้ยาก เพราะไปให้โฮ้ว-เอ๊ย, แพทย์เขียนใบสั่งยารักษาง่ายกว่าเป็นไหนๆ ประการสุดท้ายคือ จะมีคนสักกี่คนที่ทราบว่าตนเองเป็นคนปีขาล


โรคไอกรน


สาเหตุ

เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis    ซึ่งจะมีอยู่ในปาก และลำคอผู้ป่วย

อาการและการติดต่อ

โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ทำให้ติดต่อได้โดยตรงจากน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย ด้วยการไอ จาม  หรือหายใจ
รดกัน หรืออาจติดต่อโดยการใช้ผ้าเช็ดหน้า ภาชนะในการดื่ม และรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วย ระยะที่ติดต่อกันได้ คือ ระยะ
3 สัปดาห์แรกที่เริ่มเป็นโรคนี้ ระยะฟักตัว ประมาณ 7-10 วัน มีอาการเหมือนเป็นหวัดมีน้ำมูกและไอ  ซึ่งแยกได้ยากจากหวัด
ธรรมดา แต่จะสังเกตได้ว่า อาการไอจะเรื้อรังเป็นแบบไอแห้งๆ  ไม่มีเสมหะ และทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 2
พอถึงสัปดาห์ที่ 3 อาการไอจะเป็นแบบไอกรน คือ ลักษณะการไอ จะไอติดๆ กัน จากนั้นหยุดแล้วหายใจเร็วและสั้น จึงมีเสียงวูฟ
แล้วมีอาการต่อไปอีกนาน 4-6 สัปดาห์ บางรายอาจจะนานถึง 10 สัปดาห์ หลังจากนั้น อาการไอซ้อนถี่ๆ จะค่อยลดลง แต่จะยังไอ
ต่อไปอีก 2-3 สัปดาห์ และจะหมดอาการของโรคเมื่อครบ 3 เดือนโดยประมาณ โรคแทรกซ้อนอาจจะเกิดปอดบวมในเด็กเล็ก
อาจจะมีอาการชักขณะที่ไอมากจนหายใจไม่ทัน หน้าเขียวเพราะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง อาจพบมีจุดเลือดออกที่หนังตาหรือใน
เยื่อตาก็ได้ เด็กอาจจะมีน้ำหนักตัวลด เพราะไอมากจนนอนไม่ได้เต็มที่ และได้อาหารไม่เต็มที่เนื่องจากอาเจียนหลังการไอ
ไอมากๆ ความดันในช่องท้องสูงขึ้น อาจจะเกิดไส้เลื่อนได้ เจ็บชายโครงจากกล้ามเนื้อทำงานมากอักเสบ ถ้าเป็นวัณโรคอาการ
ก็จะกำเริบขึ้นได้

โรคนี้พบมากในเด็กทุกเพศทุกวัย  ที่มีอายุต่ำกว่า ปี   ในชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น   มักพบ
ผู้ป่วยด้วยโรคนี้สูง

การป้องกัน

ให้เด็กได้รับภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน และโรคอื่น ๆ ตามกำหนด